วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหาของเด็กเร่ร่อนในสังคมไทย


ปัญหาเด็กเร่ร่อน


             ปัญหาเด็กเร่ร่อนเป็นปัญหาที่มีมานาน และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ เป็นปัญหาสังคมที่เชื่อมโยงกับปัญหาอื่น ๆ การศึกษาวิถีชีวิตของเด็กเร่ร่อน ทุกแง่มุมจะทำให้รัฐและสังคมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและหันมาสนใจแก้ ปัญหาอย่างรีบด่วนและจริงจังมากกว่าเดิม
              ปัญหาเด็กเร่ร่อนเป็นปัญหาที่พบได้ในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก โดยแต่ละประเทศต่างก็พยายามแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งมาตรการในการแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อนที่ได้ผลในประเทศต่าง ๆ สามารถนำมาปรับใช้ได้กับประเทศไทย งานวิจัยเรื่องนี้จึงได้นำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อนในประเทศต่าง ๆ ถึง ๑๒ ประเทศ รูปแบบในการแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อนในประเทศดังกล่าว สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ แนวทาง คือ (1) การให้การศึกษา (2) การให้ทำงาน และ (3) การให้ความช่วยเหลือบนท้องถนน
                สำหรับเด็กเร่ร่อนในประเทศไทยนั้นพบว่า กรุงเทพมหานครมีจำนวนเด็กเร่ร่อนมากที่สุด โดยเด็กเร่ร่อนเหล่านี้อาศัยอยู่ตามที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น หัวลำโพง สนามหลวง เชิงสะพานพุทธ วงเวียนใหญ่ สวนศรีนครินทร์ ลาดพร้าว พัฒน์พงษ์ สวนลุมพินี และเชิงสะพานปิ่นเกล้า สาเหตุที่ทำให้เด็กเหล่านี้ออกมาเร่ร่อน ได้แก่ ปัญหาครอบครัว ปัญหาจากโรงเรียน และปัญหาที่เกิดจากนายหน้าและเพื่อน เด็กเร่ร่อนเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังชีพอยู่ได้ด้วยการขอทาน การขายของ และการขายบริการทางเพศ เด็กเร่ร่อนส่วนใหญ่มักเสพยาเสพย์ติดประเภทต่าง ๆ เช่น บุหรี่ แล็กเกอร์ ยากล่อมประสาท ยาม้า และเฮโรอีน
การดำเนินชีวิตอยู่บนท้องถนน เด็กเร่ร่อนจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายอาทิ เพื่อน ตำรวจ เจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์ และครูข้างถนน ซึ่งระดับความสัมพันธ์กับบุคคลเหล่านี้มีทั้งในลักษณะที่พึ่งพาอาศัย ขอความช่วยเหลือ ช่วยแก้ไขปัญหา และพยายามหลีหนีให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ครูข้างถนนเป็นกลุ่มที่เด็กเร่ ร่อนให้ความไว้วางใจมากที่สุด ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่จากกรมประชาสงเคราะห์ เป็นกลุ่มที่เด็กเร่ร่อนจะพยายามหนีออกห่างให้มากที่สุด
“จำนวนเด็กถูกทอดทิ้งตัวเลขมีแนวโน้มสูงขึ้น สาเหตุน่าจะมาจากเพราะวัยรุ่นสมัยนี้โตเร็ว เรื่องของการมีเพศสัมพันธ์เด็กยุคนี้อาจจะใจกล้ามากกว่าเมื่อก่อน แต่ไม่อยากจะให้มองว่าผลพวงของเด็กถูกทอดทิ้งมาจากเด็กใจแตกเพียงอย่างเดียว แต่มันมีผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจและภาวะสังคมด้วย ที่สำคัญคนรู้กฎหมายมากขึ้น เขาจะไม่ฆ่าลูกที่เกิดมาแต่จะใช้วิธีทิ้งตามโรงพยาบาล ทิ้งตามสถานที่ต่าง ๆ หรืออุ้มมาที่หน้าสถานสงเคราะห์ ทำให้จำนวนเด็กที่ถูกทอดทิ้งเพิ่มมากขึ้น” คือคำพูดของ คุณนภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก
เด็กเร่ร่อน ปัญหาที่ดูคล้ายจะไกลตัวแต่แท้ที่จริงเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นใครในชุมชน ในสังคม ต่างก็สามารถเป็นได้ทั้งผู้ป้องกันการเร่รอนของเด็ก หรือจะกลายเป็นผู้ผลักดันผลักไสเด็กให้ออกมาสู่ถนนเพื่อเป็นเด็กเร่ร่อน หากช่วยเหลือพวกเขาได้แม้เพียงนิดก็แสดงน้ำใจหน่อยเถิดครับ ถือเสียว่าทำบุญก็แล้วกันเนอะ

สาเหตุของการเกิดปัญหาเด็กเร่ร่อน อาจเกิดได้หลายปัจจัยแบ่งได้ดังนี้


        เด็กเร่ร่อน : จุดหักเหในการออกมาใช้ชีวิตเร่ร่อน
                ปัจจัยที่ 1 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
                เด็กที่เป็นกรณีศึกษาทั้งหมดเป็นเด็กที่มาจากต่างจังหวัด และส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ความยากจนของครอบครัวส่งผลให้เด็กไม่ได้รับสวัสดิการตามที่ต้องการอย่าง เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน การศึกษา สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ ด้วยเหตุนี้ ทำให้เด็กต้องดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่ตนต้องการด้วยตนเอง โดยทางเลือกคือ การออกจากบ้านมาเร่ร่อน เพื่อทำอาชีพเลี้ยงตัวเอง และในบางรายพ่อแม่ของเด็กเอง คือ ผู้ที่ส่งให้เด็กออกมาประกอบอาชีพเพื่อนำรายได้ไปเลี้ยงครอบครัว ซึ่งนั่นเองคือ จุดเริ่มต้นให้เด็กออกมาเร่ร่อน
                ปัจจัยที่ 2 ปัญหาครอบครัว
                จากการศึกษาพบว่าปัญหาส่วนใหญ่มาจากปัญหาครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการหย่าร้างของพ่อแม่ การใช้ความรุนแรง การทะเลาะกัน การแต่งงานใหม่ของพ่อแม่ฯลฯ ปัญหาต่างๆเหล่านี้ ต่างสร้างความกดดันให้เด็ก ดึงความสนใจของพ่อแม่ไปจากตัวเด็ก ทำให้เด็กขาดความรักความอบอุ่น
เด็กจึงต้องออกมาเร่ร่อน เพื่อให้พ้นจากสภาพความอึดอัดดังกล่าว จึงต้องยอมรับว่าปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาที่ทำให้เด็กออกมาเร่ร่อนปัญหา หนึ่ง          
                ปัจจัยที่ 3 ปัญหาจากตัวเด็กเอง
                เด็กวัยรุ่นกำลังอยากรู้อยากเห็น และอยากลอง ต้องการความเป็นอิสระ ต้องการหาประสบการณ์แปลกๆใหม่ๆ ชอบฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ระเบียบต่างๆ รวมทั้งต้องการมีกลุ่ม มีพวกพ้องเพราการมีพวกพ้องเป็นวิถีให้เด็กได้รับตอบสนองความต้องการหลาย ประการ เช่น ความรู้สึกอบอุ่นใจ การได้รับการยกย่อง ความรู้สึกว่ามีผู้เข้าใจตน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับตน จึงเป็นผลให้เด็กเลือกใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านกับเพื่อนมากกว่าอยู่กับพ่อแม่และ รู้สึกว่าถูกบังคับให้ทำสิ่งต่างๆตามความต้องการของพ่อแม่
                ปัจจัยที่ 4 ปัญหาจากโรงเรียน
                จากกการศึกษาพบว่า มีปัญหาหนึ่งนั้นก็คือ ปัญหาจากโรงเรียนเป็นตัวผลักดันให้ออกมาเร่ร่อนด้วย โดยเด็กกล่าวว่า บางครั้งถูกครูลงโทษโดยไม่มีเหตุผล ถูกทำให้ได้รับความอับอายที่โรงเรียน ถูกประณามว่าเป็นเด็กไม่ดี เป็นคนเลว ทำให้เด็กต้องการเป็นคนเลวไปจริงๆ ไม่สมควรที่จะเรียนหนังสือ หรืออยู่บ้านอีกต่อไป จึงเป็นเหตุให้เด็กหนีออกมาเร่ร่อน
สาเหตุรองลงมาอาจมีสาเหตุดังนี้
1. สาเหตุทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ครอบครัวยากจน  เด็กต้องช่วยผู้ปกครองประกอบอาชีพ
2. สาเหตุทางครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวหย่าร้างแตกแยก ครอบครัวเด็กกำพร้า เด็กต้องไปอาศัยอยู่กับผู้อื่น
3. สาเหตุทางสังคม ได้แก่ กรณีเด็กอยู่คนเดียว  เด็กถูกเฆี่ยนตี  เด็กได้รับความกดดัน  เด็กเร่ร่อน  เด็กไปอาศัยอยู่กับเพื่อนรวมกลุ่มเป็นอันธพาล  เด็กติดเกม  ติดยาเสพติด หรือ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและตั้งครรภ์
สาเหตุจากปัญหาทางสังคมอีกประการหนึ่งคือ  ค่านิยม  แบบอย่างที่ไม่ดีในสังคม  ทำให้ผู้ปกครองมองไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา  เด็กจึงไม่เห็นความสำคัญที่จะเข้าเรียนด้วย
4. สาเหตุจากสัญชาติ หรือทะเบียนราษฎร์  เช่น  เด็กต่างชาติอพยพเข้ามาทางชายแดน  ชายขอบ หรือเด็กสองสัญชาติในจังหวัดชายแดนภาคใต้  รวมถึงเด็กตกสำรวจไม่มีเลข  13 หลัก  ซึ่งบางโรงเรียนก็ไม่รับเข้าเรียน
5. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม  ซึ่งมีแหล่งอบายมุข  เด็กเห็นการเล่นการพนัน หรือการเสพสารเสพติดเป็นเรื่องธรรมดา
6. สาเหตุจากทางโรงเรียนที่มีระบบการผลักดันให้เด็กออกจากโรงเรียนโดยไม่รู้ ตัว  เช่น  การเข้มงวด  ดุด่าประจานหน้าเสาธง  ไม่ยืดหยุ่นผ่อนปรนในบางเรื่อง  เช่น  การแก้ 0  แก้ ร   ไม่ทันเวลา
7. สาเหตุจากตัวเด็กเอง  คือ  นิสัยเกียจคร้าน  เบื่อโรงเรียน  บางคนก้าวร้าวเข้ากับเพื่อนไม่ได้  บางคนมีปมด้อยทางร่างกายถูกเพื่อนล้อเลียน  จึงไม่กล้าไปโรงเรียน

ผลกระทบต่อสังคม


1.  ด้านการศึกษา
     ซึ่งจะเรียกว่าเป็นวิกฤตการณ์ทางการศึกษาเพราะเด็กเร่ร่อนมีเป็นจำนวนมากจาก ซึ่งในข้อมูลประมาณ30,000คน เป็นเด็กเร่ร่อนไม่ได้เข้าเรียนหนังสือหรือเรียนไม่จบการศึกษาภาคบังคับ ทำให้เด็กที่กลายเป็นเด็กเร่ร่อนนั้นไม่ได้รับการศึกษาอย่างดีเท่าที่ควร
2.ด้านสิทธิและเสรีภาพ
ปัญหาเด็กถูกละเมิดสิทธิ เด็กถูกทารุณ ถูกทำร้ายทางร่างกายและจิตใจ เด็กถูกละเมิดทางเพศ ซึ่งพบว่าเด็กที่ถูกกระทำจะมีอายุน้อยลง การละเมิดบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น
ปัญหาแรงงานเด็กพบว่าปัจจุบันมีเด็กถูกใช้แรงงานปัญหาโสเภณีเด็กซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งหญิงและชายจากการสำรวจข้อมูลผู้ให้บริการทางเพศทั่วประเทศพบว่ามีแนวโน้มว่าเด็กผู้ชายจะขายบริการทางเพศเพิ่ม ขึ้น
ปัญหาที่น่าวิตกไม่แพ้กันคือปัญหาเด็กกำพร้าและเด็กถูกทอดทิ้งจำนวนสูง ถึง 1.4 แสนคน หรือค่าเฉลี่ยของเด็กถูกทอดทิ้งต่อวันคือวันละ 5 คน
 3.  ด้านสังคม
       การใช้ยาเสพติด  เด็กเร่ร่อนส่วนใหญ่มีประสบการณ์การใช้ยาเสพติด ทั้งกาว ยาบ้า กัญชา หรือ แม้กระทั่ง เฮโรอีน มาก่อนที่จะทำอาชีพนี้ ทั้งโดยเพื่อนชักชวน และ ความอยากลองของตนเอง ทั้งๆที่เด็กทราบถึงผลร้ายของสารเสพติดเป็นอย่างดี
การลักขโมย ปัญหาอาชญากรรม ซึ่งเด็กเร่ร่อนเหล่านี้ก็ต้องการอาหารซึ่งกลายมาเป็นปัจจัยมาสู่การเป็นขโมยได้

หน่วยงานภาครัฐที่ทำงานด้านเด็กเร่ร่อน


           (1) สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ที่เริ่มช่วยเหลือตั้งแต่ปี 2534 และในปัจจุบันได้เปลี่ยนรูปแบบการช่วยเหลือเป็น ศูนย์สร้างโอกาส มีทั้งหมด 7 แห่งด้วยกัน ศุนย์สร้างโอกาสเด็กจตุจักร สวนลุมพินี พระราม9 ทุ่งครุ สวนพฤกษชาติคลองจั่น พระปกเกล้า พระราม8
            (2)สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันนี้ ตามเกิดขึ้นในจังหวัดใหญ่ จำนวน 18 จังหวัดด้วยกัน  สำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร 1 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตปทุมวัน กศน.นครปฐม,สระบุรี,สมุทรปราการ,ชลบุรี,นครราขสีมา,ขอนแก่น,อุดรธานี ลอุบลราชธานี,หนองบัวลำภู,เชียงราย,เชียงใหม่,สุราษฎธานี,ลำพูน, สงขลา,ยะลา,ภูเก็ต,นครศรธรรมราช เป็นต้น
             (3)กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สำคัญมาก  โดยเพาะภาระกิจในส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่เทศบาล และเทศบาลนคร ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 32 จังหวัดที่ดำเนินการอยู่ แต่ต้องปรับกระบวนการการให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
             (4) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุย์ที่มีบ้านพักเด็กและครอบครัวสถานสงเคราะห์ที่สามารถรองรับเด็กได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ. 2546
              (5)สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งเริ่มจาก 26 โรงพักในนครบาล  ปัจุบันที่ยังทำอยู่คือ สน.บางซื่อและยังมีโครงการตำรวจครูข้างถนนของตำรวจรถไฟ เป็นต้น
หน่วยงานภาครัฐส่วนมากจะมีบางหน่วยงานที่เป็นครูข้างถนน บางหน่วยงานมีบ้านพัก  แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือการเชื่อมประสานส่งต่อกัน

แนวทางการแก้ไขปัญหา


    เนื่องจากปํญหาเด็กเร่ร่อนเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของสังคม ซึ่งเกิดมาจากหลายๆสาเหตุแต่สาเหตุใหญ่ๆที่เรารู้จักกันดีนั้นคือ เริ่มมาจากจุดเล็กๆในสังคมที่เรียกว่าครอบครัว ทั้งปัญหาครอบครัวแตกแยก ปัญหาเด็กกำพร้า ซึ่งโยงใยด้วยเหตุผลหลายๆประการ ทั้งจากการว่างงานของผู้นำในครอบครัว จากปัญหาเศรษฐกิจที่มักไม่คงที่คงตัว และปัญหาสังคมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถ้าหากเราจะร่วมมือกันแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อนนี้ เราต้องเริ่มจากการมีครอบครัวที่ดีเสียก่อน เราต้องสร้างสัมพัธภาพที่ดีในครอบครัว สมาชิกในครอบครัวต้องใส่ใจ รัก และดูแลซึ่งกันและกัน แม้บางครอบครัวจะขาดพ่อหรือแม่ไปคนใดคนหนึ่ง แต่หากบุคคลที่เหลืออยุให้ความรักความอบอุ่น เป็นได้ทั้งพ่อและแม่ให้แก่ลูกนั้น ปัญหาเด็กเร่ร่อนนี้ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นมาในสังคมได้เลย

อ้างอิงจาก
www.nidambe11.net/ekonomiz/.../2006november05p1.htm
www.sarakadee.com/feature/2000/07/homeless_children.htm
www.oknation.net/blog/wachira89/2009/07/03/entry-1



รายชื่อสมาชิกกลุ่ม

โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป) (0D7)  ระดับ บธ.บ.4ปี (เทียบโอน)  หมู่1
SECTION : AD

1. 551805018   นางสาววารุณ              ศรีจันทร์ตา
2. 551805022   นางสาวจิราพร             ตาคำ
3. 551805031   นางสาวลักษณ์พิรา     ทาแก้ว     
4. 551805032   นางสาวสายทิพย์         วาฤทธิ์
5. 551805033   นางสาวทิพย์นิภา         ติ๊บเมืองพรม  


1 ความคิดเห็น: